จุดกำเนิด ประวัติศาสตร์และการใช้ในปัจจุบัน ของ ภาษาเซนายา

เมืองซานันดัซเป็นบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของบริเวณที่เคยใช้ภาษาอราเมอิก สำเนียงของภาษาอราเมอิกใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองนี้ มีสองสำเนียงคือ สำเนียงฮาลัวลาของชาวยิวและสำเนียงเซนายาของชาวคริสต์ ซึ่งแตกต่างกัน เช่น เสียง θ (th) ของภาษาอราเมอิกยุคกลาง เป็นเสียง l ในสำเนียงฮาลัวลา และs ในภาษาเซนายา ตัวอย่างเช่น , mîθa, 'ตาย' เป็น mîsa ในภาษาเซนายาและ mîla ในสำเนียงฮาลัวลา

ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกคัลเดียที่แยกออกมาจากนิกายอัสซีเรียตะวันออกในพุทธศตวรรษที่ 21 และเข้าร่วมในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ผุ้พูดภาษานี้ไม่เข้าใจภาษาอราเมอิกใหม่คัลเดียที่ใช้พูดในอิรัก ปัจจุบัน ชุมชนชาวคริสต์ในซานันดัซเริ่มลดลง ส่วนใหญ่อพยพมาอยู่ที่เตหะราน จนไม่มีผู้พูดภาษาเซนายาเป็นภาษาแม่ในซานันดัซ ภาษาในเตหะรานได้รับอิทธิพลจากภาษาอราเมอิกใหม่อัสซีเรียสำเนียง อูร์เมซนายา (Urmežnāya) ชาวคริสต์กลุ่มนี้ใช้ภาษาซีเรียคเป็นภาษาทางศาสนา ภาษาเซนายาเขียนด้วยอักษรซีเรียคแบบ Madnhāyâ ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กับภาษาซีเรียคคลาสสิก